เครื่องตรวจจับการล้ม

สำหรับ

ผู้สูงอายุ

และ

ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเดิน

 

โดย    

ห้องวิจัยความฉลาดทางการคำนวณ (CIRL)

ศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ (BMEC)

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

 

 

 

การหกล้มในผู้สูงอายุ

 

การหกล้ม[1] หมายถึง การเกิดการเปลี่ยนแปลงท่าทางโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นผลทำให้ร่างการทรุดหรือลงไปนอนกับพื้น หรือ การปะทะสิ่งของต่างๆ เช่น โต๊ะ เตียง เป็นต้น อุบัติเหตุการณ์ล้มพบในผู้สูงอายุเพศหญิงร้อยละ 25 และ พบในผู้สูงอายุเพศชายร้อยละ 12 สามารถแบ่งชนิดการล้มได้ 2 ชนิดคือ 1.การล้มแบบพลาดหรือสะดุด และ 2.การล้มแบบลื่นไถล

ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการล้ม[2]

1.    ปัจจัยทางด้านร่างกาย ได้แก่

-     อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

-     ความบกพร่องในการทรงตัว หรือ ก้าวเดินไม่ดี

-     ข้อเข่าเสื่อม หรือ อักเสบ

-     ความบกพร่องในการมองเห็น

-     โรคซึมเศร้า, โรคสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์

-     โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือด เช่น โรคความดัน

-     ผู้สูงอายุที่เคยมีประวัติการหกล้ม

-     ผู้สูงอายุมากกว่า 80 ปี

 

2.    ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่

-     พื้นมีลักษณะไม่ปลอดภัย เช่น ลื่น หรือ ขรุขระ สามารถสะดุดได้

-     มีสิ่งก่อสร้างที่ไม่เหมาะสม เช่น ขั้นบันไดที่มีความสูงไม่สม่ำเสมอ หรือ ไม่มีราวยึดเกาะ ที่นั่งขับถ่ายเป็นแบบนั่งยอง เป็นต้น

-     แสงสว่างไม่พอ หรือ อาจสว่างจ้ามากเกินไป

-     การจัดบ้านไม่เป็นระเบียบ อาจทำให้เกิด สิ่งกีดขวางทางเดินได้

 

 

ผลของการหกล้ม ส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจต่อตัวผู้สูงอายุ และครอบครัว มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผลกระทบการล้มต่อร่างกาย อาจนำไปสู่การเสียชีวิต บาดเจ็บ หมดสติ ในกรณีที่ล้มศีรษะฟาด จะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนทางสมอง กระดูกหักได้ โดยเฉพาะกระดูกบริเวณข้อสะโพก ข้อมือ ซึ่งเหล่านี้นำไปสู่การบาดเจ็บที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล อาจต้องทำการผ่าตัด ใช้เวลาในการรักษาและฟื้นฟูเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดภาวะพึ่งพาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และที่สำคัญมีโอกาสเกิดโรคแทรกระหว่างป่วย หรือ ผ่าตัด เช่นอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การเกิดแผลกดทับ เป็นต้น

ผลกระทบทางด้านจิตใจ พบว่าผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยจะเกิดความอาย วิตกกังวล กลัวการหกล้ม บางรายอาจมีภาวะซึมเศร้า หมดความมั่นใจในตนเอง ซึ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุลดกิจกรรมการเข้าสังคม เก็บตัว หรือไม่กล้าทำกิจกรรมใดๆ ที่เคยทำ การที่ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวจะส่งผลให้สูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อยึดติด ไม่มั่นใจในการเดิน ลักษณะการเดินติดขัด ไม่มั่นใจ ก็จะยิ่งชักนำไปสู่การหกล้มมากขึ้น

 ผลกระทบทางเศรษฐกิจ หลังจากหกล้มที่นำไปสู่ความเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษา ผ่าตัดได้รับยา ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พบว่าผู้สูงอายุที่หกล้มจะมีแนวโน้มที่เจ็บป่วยเพิ่มขึ้นพบแพทย์บ่อยครั้งขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านนี้จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัวได้โดยตรง

การลุกขึ้นจากหกล้ม

    สำหรับท่านผู้สูงอายุ เมื่อหกล้มจะตื่นตระหนกทั้งผู้ที่ล้มและญาติ การลุกที่ผิดท่าอาจจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าการหกล้มเสียอีก ก่อนอื่นขอให้ตั้งสติให้ดี ประเมินอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นว่ารุนแรงมากน้อยแค่ไหน หากประเมินแล้วว่า บาดเจ็บมาก เช่น มีกระดูกหัก อย่าพยายามลุกขึ้นเอง ให้ขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด แต่ถ้ารู้สึกว่าได้รับบาดเจ็บไม่มากและคิดว่าลุกขึ้นเองได้ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1.ให้พลิกตะแคง ยกศีรษะขึ้น

 

2.ยึดเกาะโต๊ะหรือเก้าอี้ที่มั่นคงโดยใช้มือสองข้าง

 

3.พยุงตัวขึ้นมาค่อยๆยกตัวขึ้นมา โดยเข่าข้างหนึ่งอยู่บนพื้น

 

4.ค่อยๆนั่งบนเก้าอี้ให้มั่นคง

 

การป้องกันการลื่นล้ม[3]

ห้องน้ำ/สุขา

     วัสดุที่ใช้ปูพื้นเป็นชนิดไม่ลื่น มีราวเกาะข้างฝาและบริเวณที่ต้องลุกอย่างมั่นคงใช้โถส้วมแบบชักโครก ห้องอาบน้ำมีที่นั่งขณะอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้า จัดวางของใช้ให้หยิบจับง่าย ในระดับข้อศอก

ห้องนอน/ห้องนั่งเล่น

     จัดของใช้ให้เป็นระเบียบ หยิบจับง่าย ไม่มีของเกะกะ ตามพื้นห้องโดยเฉพาะสายไฟ สายโทรศัพท์ พิจารณาใช้โทรศัพท์ไร้สาย จัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอโดยเฉพาะทางเดินไปห้องน้ำ ไม่มีสิ่งกีดขวาง ทางเดินในห้องนอนและห้องน้ำให้โล่ง ไม่มีหยดน้ำตามทางเดิน เคลื่อนไหวหรือลุกจากเตียงอย่างช้าๆ

ห้องครัว

     จัดของข้าว/เครื่องปรุงให้ง่ายต่อการใช้ เก็บของใช้ที่หนักไว้ในที่ต่ำ เช็ดหยดน้ำ น้ำมันทันที เลี่ยงการขัดเงาที่พื้นห้อง หากมีความไม่ปลอดภัยในการทำงานให้ทำการแก้ไข

บันได

     เลี่ยงการใช้บันได ถ้าจำเป็นต้องใช้บันไดต้องมีความมั่นคง มีความกว้างพอดี ถอดแว่นตา งดอ่านหนังสือทุกครั้งขณะ ขึ้น/ลงบันได   ไม่รีบขึ้น/ลงบันได

พื้นทั่วไป

      ดูแลทางเดินให้โล่ง ไม่มีหยดน้ำ /สิ่งของกีดขวางทางเดิน ทางเข้า-ออกสะดวก มีสว่าง เพียงพอ   ไม่เก็บของใช้ในการทำสวน /ทำงานไว้ในตามทางเดิน


การดูแลสุขภาพ

     รับประทานอาหารให้เพียงพอ เน้นผักและผลไม้ เพื่อรักษาสมดุลของร่างกายและต้านทานโรค ไม่ควรงดอาหาร ทำให้อ่อนเพลีย มึนงง มีการเคลื่อนไหวทุกวันเดิน/ออกกำลังกายตามวัย เช่น ไทจี๋ เพื่อรักษาความยืดหยุ่นของข้อและสมดุลของร่างกาย เข้าสู่โปรแกรมการออกกำลังกาย ตรวจสายและการได้ยินเป็นประจำสม่ำเสมอถ้าพบ ปัญหาควรใช้อุปกรณ์ช่วย สอบถามแพทย์/เภสัชทุกครั้งที่รับยาถึงผลข้างเคียงของยา ถ้ารับยาที่มีผลทำให้ง่วงซึม หลับ ต้องปรับเปลี่ยนการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการลื่นล้ม ห้ามผสมยากับแอลกอฮอล์ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นสาเหตุของการลื่นล้ม ไม่อายที่จะใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน จะทำให้เราปลอดภัย ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยเดินให้มีความสูงเหมาะสม มั่นคง ปลายมียางหุ้ม

 

 

ศูนย์บริการผู้สูงอายุปิยะมาลย์

 

 

 

เครื่องตรวจจับการล้มในผู้สูงอายุ

 

เป็นระบบแจ้งขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดการล้มในผู้สูงอายุ โดยใช้เข็มขัดติดที่บริเวณเอว ซึ่งจะทำการบันทึกและประมวลผลท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อเกิดการล้ม ตัวเครื่องจะทำการส่งเสียงร้องและส่งข้อความขอความช่วยเหลือไปยังโทรศัพท์เจ้าหน้าที่หรือผู้ช่วยเหลือที่ได้ทำการบันทึกไว้ รวมถึงสามารถบอกพิกัดตำแหน่งของผู้ล้ม ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงเพื่อทำการช่วยเหลือ ณ ตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุการล้มได้อย่างทันท่วงที

 

เครื่องตรวจจับการล้ม

 

 

การสวมเครื่องตรวจจับการล้ม

 

 

วิธีการใช้งานเครื่องตรวจจับการล้ม

1.       ทำการเปิดสวิตซ์เครื่องตรวจจับการล้ม รอจนไฟสถานะขึ้น

 

 

 

2.           ทำการเปิดเว็บไซต์ กรอกเบอร์โทรศัพท์ที่จะส่งข้อความขอความช่วยเหลือ, กรอกชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้งาน

 

3.       ทำการเปิดใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตในโทรศัพท์มือถือ

4.       ทำการเปิดโปรแกรมตรวจจับการล้มที่โทรศัพท์มือถือ ทำการกรอกหลายเลขเครื่องที่กำหนดในเว็บไซต์และกรอกไอพี-แอดเดรส ของเซอร์ฟเวอร์

ไอคอนโปรแกรมตรวจจับการล้ม

 

 

 ,กรอกหมายเลขเครื่อง
กรอกไอพี-แอดเดรส ของเซอร์ฟเวอร์

เมื่อทำการกรอกหมายเลขเครื่องและไอพี-แอดเดรสเรียบร้อยแล้วปุ่มการเชื่อมต่อจะเปิดการทำงาน

5.       ทำการเชื่อมต่อระบบกับบลูทูธของเครื่องตรวจจับการล้ม

-       กดปุ่ม “เชื่อมต่อ”

 

-       อนุญาตเชื่อมต่อบลูทูธ มี 2 ขั้นตอนคือ การขออนุญาตเปิดบลูทูธ และ อนุญาตให้อุปกรณ์อื่นเห็นบลูทูธ เลือก “ใช่”

 

 

-       ทำการเลือกหมายเลขแมกแอดเดรสของบลูทูธ โดยที่เลขแมกแอดเดรสของบลูทูธจะบอกอยู่ที่ตัวเครื่องตรวจจับการล้มตัวนั้นๆ

 

 

 


-       เมื่อทำการเลือกบลูทูธแล้วก็จะทำการเชื่อมต่อตัวเครื่องตรวจจับการล้มไปยังเซิร์ฟเวอร์อัตโนมัติ ซึ่งหากทำการเชื่อมต่อสำเร็จ ปุ่ม “ตัดการเชื่อมต่อ” จะแสดงการทำงาน และที่เว็บไซต์จะมีการแสดงสัญลักษณ์การเชื่อมต่อสีเขียวดังรูป แสดงว่าระบบพร้อมใช้งาน


หน้าโปรแกรมที่โทรศัพท์มือถือ

หน้าโปรแกรมที่เว็บไซต์



ในกรณีที่เกิดการล้ม

ระบบจะทำการแจ้งเตือนดังนี้

-     ตัวเครื่องตรวจจับการล้มจะส่งเสียงร้อง โดยวิธีการปิดเสียงร้องทำได้โดยสั่งปิดผ่านทางโทรศัพท์ โดยเลือกปุ่ม “หยุดเสียงเตือน”

-     ที่หน้าเว็บไซต์จะแสดงสัญลักษณ์แจ้งเตือนการล้ม เป็นรูปอัศเจรีย์บนพื้นสีส้มแดง

นอกจากนี้ เมื่อทำการคลิกเข้าไปที่คำว่า “แผนที่ช่วยเหลือ” ภายในเว็บไซต์ก็จะแสดงแผนที่ของตำแหน่งที่เกิดการล้มของผู้สวมอุปกรณ์ได้ ดังรูป

หากผู้สวมอุปกรณ์ต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉินสามารถเปิดสวิตซ์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินได้ โดยเมื่อทำการเปิดสวิตซ์ตัวเครื่องตรวจจับการล้มก็จะเกิดส่งเสียงร้องและที่หน้าเว็บไซต์ก็จะแสดงสัญลักษณ์การขอความช่วยเหลือฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะเป็นรูปกากบาทบนพื้นสีแดง

เอกสารอ้างอิง

[1]  โครงการขยายโอกาสทางการเรียนรู้ด้านการดูแลตนเองสู่ประชาชน. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2545. “การหกล้มในผู้สูงอายุ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.formumandme.com

[2]       สถานพยาบาลผู้สูงอายุ  และ บ้านพักผู้สูงอายุ. 2548. “การหกล้มในผู้สูงอายุ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา  http://www.senior.co.th 

[3]       บุปผา   จันทรจรัส, “การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ”. งานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์, โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2555. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.med.cmu.ac.th/hospital/northo/2012/16-km-orthopedics/33-falling-lelderly.html

 

สนับสนุนงานวิจัย โดย

-        สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

-        โครงการทรูปลูกปัญญา, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

 

 

สนใจเครื่องตรวจจับการล้ม ติดต่อ

ห้องวิจัยความฉลาดทางการคำนวณ (CIRL)

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 ตึก 30 ปี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

Tel: 08-4614-0006, 0-5394-2023